-
คิดนอกกรอบ, พิจารณาตัวแปรทั้งหมด
Posted on May 26th, 2009 No commentsตัวอย่างที่น่าสนใจของการ “คิดนอกกรอบ”
โจทย์ข้อหนึ่งในข้อสอบวิชาฟิสิกส์ของมหาวิทยาลัยโคเปนเฮเกนมีดังนึ้
“จงอธิบายว่าท่านจะใช้บารอมิเตอร์วัดความสูงของตึกระฟ้าได้อย่างไร”รู้จักกันนะครับ ว่าบาร์รอมิเตอร์นี่ก็คือเครื่องมือวัดความกดอากาศนั่นเอง
(อธิบายเพิ่มเติมก็คงต้องบอกว่า อากาศนั้นมันมีน้ำหนักหรือมีแรงกดนั่น และแรงกดของอากาศนั้นเมื่ออยู่ในระดับความสูงที่เปลี่ยนไป ความกดอากาศก็เปลี่ยนไปด้วย)นักศึกษาคนหนึ่งเขียนคำตอบลงไปว่า
“เอาเชือกยาวๆ ผูกกับบารอมิเตอร์แล้วหย่อนลงมาจากยอดตึก แล้วก็เอาความยาวเชือก บวกความสูงบารอมิเตอร์ก็จะได้ความสูงของตึก”ฟังดูเป็นอย่างไรครับคำตอบนี้ ผมฟังครั้งแรกผมยังอมยิ้มเลยครับ
แต่อาจารย์ที่ตรวจข้อสอบไม่นึกขันอย่างผมด้วย
อาจารย์ตัดสินให้นักศึกษาคนนั้นสอบตกนักศึกษาผู้นั้นยืนยันต่ออาจารย์ที่ปรึกษาว่า
คำตอบของเขาควรจะถูกต้องอย่างไม่มีข้อโต้แย้ง
และคำตอบของเขาก็สามารถพิสูจน์ได้ทางวิทยาศาสตร์ทางมหาวิทยาลัยจึงตั้งกรรมการชุดหนึ่งมาตัดสินเรื่องนี้
และในที่สุดคณะกรรมการก็มีความเห็นตรงกันว่า
คำตอบนั้นถูกต้องอย่างแน่นอน
แต่เป็นคำตอบที่ไม่แสดงถึงความรู้ความสามารถทางฟิสิกส์ ดังนั้น
เพื่อเป็นการแก้ข้อขัดแย้งที่เกิดขึ้น
ทางคณะกรรมการจึงให้เรียกนักศึกษาคนนั้นมา
แล้วให้สอบข้อสอบข้อนั้นอีกครั้งหนึ่งต่อหน้า โดยให้เวลาเพียง 6 นาที
เท่ากับเวลาในการสอบข้อสอบเดิม
เพื่อหาคำตอบที่แสดงให้เห็นถึงความรู้ทางด้านฟิสิกส์หลังจากผ่านไป 3 นาที นักศึกษาคนนั้นก็ยังนั่งนิ่งอยู่
กรรมการจึงเตือนว่า เวลาผ่านไปครึ่งหนึ่งแล้วจะไม่ตอบหรืออย่างไร
นักศึกษาหัวรั้นจึงตอบว่า เขามีคำตอบมากมายที่เกี่ยวกับฟิสิกส์
แต่ไม่สามารถตัดสินใจได้ว่าจะใช้คำตอบไหนดีและเมื่อได้รับคำเตือนอีกครั้ง
นักศึกษาจึงเขียนคำตอบลงไปดังนี้…ให้เอาบารอมิเตอร์ขึ้นไปบนดาดฟ้าตึกและทิ้งลงมา จับเวลาจนถึงพื้น, ความสูงของ ตึกหาได้จากสูตร H=0.5g*t กำลัง 2
หรือถ้าแดดแรงพอ ให้วัดความสูงบารอมิเตอร์แล้วก็วางบารอมิเตอร์ให้ตั้งฉากพื้น แล้ววัดความยาวของ เงาบารอมอเตอร์ จากนั้นก็วัดความยาวของเงาตึก แล้วคิดด้วยตรีโกณมิติก็จะได้ความสูงของตึกโดยไม่ ต้องขึ้นไปบนตึกด้วยซ้ำ
หรือถ้าเกิดอยากใช้ความสามารถด้านวิทยาศาสตร์มากกว่านี้ ก็เอาเชือกเส้นสั้นๆ มาผูกกะบารอมิเตอร์แล้วแกว่งเหมือนลูกตุ้ม ตอนแรกก็แกว่งระดับพื้นดิน แล้วก็ไปแกว่งอีกทีบนดาดฟ้า ความสูงของตึกจะหาได้จาก ความแตกต่าง ของคาบการแกว่ง เนื่องจากความแตกต่างของแรงดึดดูดจากจุดศูนย์กลางของมวล คำนวณจาก T = 2 พาย กำลัง 2 รากที่ 2 ของ l/g
ถ้าตึกมีบันไดหนีไฟก็ง่ายๆ ก็เดินขึ้นไปเอาบารอมิเตอร์ทาบแล้วก็ทำเครื่องหมายไปเรื่อยๆ จนถึงยอดตึกนับไว้คูณด้วยความสูงของบารอมิเตอร์ก็ได้ความสูงตึก
แต่ถ้าคุณเป็นคนที่น่าเบื่อและยึดถือตามแบบแผนจำเจซ้ำซาก คุณก็เอาบารอมิเตอร์วัดความดันอากาศที่พื้นและที่ยอดตึก คำนวณความแตกต่างของ ความดันก็จะได้ความสูง
ส่วนวิธีสุดท้ายง่ายและตรงไปตรงมาก็คือ ไปเคาะประตูห้องภารโรง แล้วบอกว่า อยากได้บารอมิเตอร์สวยๆ ใหม่เอี่ยมสักอันไหม ช่วยบอกความสูงของตึกให้ผมทีแล้วผมจะยกให้
นักศึกษาคนนั้นคือ นีล โบร์
ผู้ได้รางวัลโนเบลสาขาฟิสิกส์ในปีค.ศ.1922CAF : Consider All Factors
พิจารณาตัวแปรทั้งหมด
CAF คือ การนำตัวแปรที่เกี่ยวข้องมาใช้พิจารณาในเรื่องนั้นๆชายคนหนึ่งแวะเข้าไปเยี่ยมชมเต๊นท์รถมือสองแห่งหนึ่ง โดยทันใดเขาก็เจอรถสปอร์ตคันโปรดของเขาเข้า เงื่อนไขก็ดี เลขไมล์ ก็สมเหตุสมผล ราคาก็อยู่ในระดับที่เขาพอจะซื้อได้ เขาพอใจมาก เขาตัดสินใจซื้อรถคันนั้นด้วยความปิติยินดี แต่ปรากฎว่ารถคันนั้นใหญ่ เกินกว่าจะจอดในโรงรถที่บ้านของเขาได้ เขาลืมทำแคฟ (CAF) !
คนแคระเดินเข้าไปในตึกสำนักงาน เขาต้องการขึ้นไปชั้น 15 มีคนรอลิฟท์อยู่ทั้งหมด 3 คนรวมเขาด้วย เมื่อลิฟท์ 2 ตัวเปิดประตูออกพร้อมกัน คนอื่นเดินเข้าลิฟท์ตัวที่หนึ่ง ส่วนเขาเลือกเดินเข้าลิฟท์อีกตัวหนึ่ง เมื่อประตูลิฟท์ปิด เขาต้องติดอยู่ในลิฟท์เกือบ 10 นาที เพราะกดปุ่มลิฟท์ไม่ถึง เขาลืมทำแคฟ (CAF)!
แคฟเป็นเรื่องของการเพิ่มตัวแปรที่เกี่ยวข้องเข้าไปในรายการ
– อะไรที่ยังหลงเหลืออยู่ ?
– เราสามารถเพิ่มตัวแปรอื่นเข้าไปในรายการได้อีกมั๊ย ?
– อะไรที่ต้องนำมาพิจารณาเพิ่มเติม ?อ้างอิงจากหนังสือ Teach your child how to think.
โดย Edward de Bonoแหล่งข้อมูล: Forword Mail
ผู้สนับสนุน: เพียวคาร์เร้นท์ โรงแรมเพียวแมนชั่น เพียววิลล่าLeave a reply