GoodToKnow.PureThailand.com รวมเรื่องน่ารู้จาก forward mail
RSS icon Home icon
  • การเลือกใช้ หลอดไฟ

    Posted on May 4th, 2009 goodtoknow No comments

    เนื้อหา : พูดถึงข้อเท็จจริงเกี่ยวกับการเลือกใช้หลอดไฟ
    ถามโดย : คุณชนิกานต์
    ตอบโดย : อ.ยอดเยี่ยม เทพธรานนท์

    ๑. หลอดตะเกียบมีการโฆษณากันยกใหญ่เมื่อปีที่แล้ว มีการนำพรีเซนเตอร์ระดับชาติมาประชาสัมพันธ์ว่าประหยัดพลังงานและประหยัดชาติ ให้ช่วยๆกันใช้ โดยเน้นด้านการเปรียบเทียบกับ หลอดใส้

    ๒. ผู้โฆษณาหลอดตะเกียบไม่เคยเปรียบเทียบกับหลอดนีออนเลย หลอดนีออนในที่นี้เป็นภาษาชาวบ้าน เพราะจริงๆ แล้วก็คือหลอดฟลูออเสรเซ็นทฺนั่นเอง เพราะหากพิจารณาเรื่องประสิทธิภาพ Efficacy ของพลังงานที่ใช้ไป (watt) กับแสงสว่างที่ส่องออกมานั้น (lumen) จะพบว่า efficacy ของหลอดตะเกียบ เลวกว่าหลอดฟลูออเรสเซนท์ กล่าวคือ หลอดตะเกียบจะมี efficacy = 42.00 lumen/watt ส่วนหลอดฟลูออเรสเซนท์ = 57.80 lumen/watt

    ๓. หากพิจารณาที่ financial efficiency คือประสิทธิภาพของการลงทุน (ค่าหลอด ค่าสายไฟ และค่าแรงติดตั้ง) จะพบว่าเงินแต่ละบาทกับแสงสว่างที่ส่องออกมา หลอดตะเกียบตกเหวตกกระป๋องเลย กล่าวคือ หลอดตะเกียบ = 1.3 lumen/baht และหลอดฟลูออเรสเซนท์ = 9.3 lumen/watt

    ๔. อายุการใช้งานของทั้งสองอย่างเท่ากัน กล่าวคืออยู่ที่ประมาณ ๑๐,๐๐๐ ชั่วโมง แต่ทั้งนี้ ไม่เคยมีการพิสูจน์กันในประเทศไทยเราเลย เนื่องจากลักษณะการวัดชั่วโมงการทำงานตาม UL standard (เขาบอกมา) กับลักษณะการใช้นอกบ้านที่ร้อนและชื้นอย่างบ้านเรา มันแตกต่างกันมาก ทำให้หลายท่านรู้สึกว่า ทำไมใช้หลอดตะเกียบแค่ ๓ เดือนก็เจ๊งแล้ว

    ๕. หากพิจารณาที่ Country Economy จะพบว่า ทุกบาททุกสตางค์ที่เราใช้หลอดตะเกียบ เราจะต้องส่งเงินออกนอกประเทศทั้งหมด (ประเทศชาติเสียดุลย์) แต่หลอดฟลูออเรสเซนท์นั้น ทำในประเทศไทยเกือบทั้งหมด และการติดตั้งก็ใช้แรงงานไทยด้วย หากทุกคนหันมาใช้หลอดตะเกียบ โรงงานไทยก็ต้องปิดตัว แรงงานไทยก็ตกงาน ทั้งโจรและโสเภณี คงจะเพิ่มจำนวนขึ้นอีก เป็นอัตราส่วนที่เราใช้หลอดตะเกียบอย่างไม่คิด

    ๖. เมื่อประกาศข้อมูลออกไปก็มีคนมาติดต่อ เพราะว่าผมเองเป็นคนปากสว่าง ปากล้า (และปากเสีย) พอพบข้อมูลตรงนี้ก็เอาไปประกาศโดยทั่ว ทั้งทางการเลคเช่อร์ ทางหนังสือพิมพ์ ทางวิทยุ ฯลฯ ก็เลยมีคนจากองค์กรหนึ่ง (ที่คุณประกิตติรู้จักดี แถมคุณพ่อตาผมก็เคยทำงานอยู่ที่นั่นด้วย) บอกว่าให้ผมเลิกพูดเรื่องนี้ได้ไม๊ ผมจึงถามว่าทำไมหรือ …เขาบอกว่า ตอนนี้ที่ประชาสัมพันธ์อย่างรุนแรง เร่งเร้า ก็เพื่อให้คนไทยใช้หลอดตะเกียบเยอะๆ จะได้เกิด Economy Scale แล้วเมื่อนนั้นองค์กรเขาก็จะตั้งโรงงานผลิตหลอดตะเกียบ ….น่าตกใจไหมครับ

    ๗. รัฐวิสาหกิจไม่น่าจะมีหน้าที่มาตั้งโรงงานหลอดตะเกียบมั๊งครับ เพราะน่าจะทำหน้าที่ตัวเองให้สมบูรณ์ และไม่ให้ประชาชนเดือดร้อน ไม่ได้มีหน้าที่จะพยายามมาตั้งโรงงานหลอดตะเกียบ และยิ่งเป็นการโฆษณาประชาสัมพันธ์โดยใช้เงินของรัฐให้ประชาชนเข้าใจผิดด้วย ไม่ใช่เรื่องเล็กๆเลย

    ๘. เขายอมรับข้อมูลผม เพราะเมื่อถามจี้เข้าไปจริงๆก็ยอมรับ ผมก็เลยขอร้องเขาไปว่าให้เขาเลิกโฆษณาที่ทำให้ประชาชนเข้าใจผิดอย่างนั้นเสียเถอะ ไม่ดีเลย …..ถ้าสังเกตุดูในรอบ ๖ เดือนที่ผ่านมาหนังโฆษณานี้จะหายไป แต่คงไม่ใช่เขาจะมากลัวผมหรอกนะครับ

    ๙. พอหลอดตะเกียบจีนแดงเข้ามาเลยชักจะยุ่งกันใหญ่ เพราะทั้งราคา (และมาตรฐานตามเขาบอก) มันแปลกๆไป บริษัทฝรั่งสองบริษัทก็วิ่งไปหาองค์กรนั้น แล้วก็ให้ทาง ม.อ.ก. ทดสอบ (เพื่อจะบอกว่าของจีนแดงไม่มีมาตรฐาน) ผมเลยแกล้งติดต่อไปที่ ม.อ.ก. ถามถึงวธีการทดสอบทำยังไง ก็ยังไม่มีคำตอบครับ (ผมเป็นเสือใส่เกือกดีไม๊ครับ)

    CONCLUSION
    ผมเองไม่ได้แอนตี้หลอดตะเกียบไปทั้งหมดหรอกครับ หากจะใช้หลอดสองหลอดเพื่อเปลี่ยนจากหลอดใส้อย่างง่ายๆ ไม่ต้องไปจ้างช่างมาติดตั้ง แล้วก็ไม่เป็นจุดที่ใช้สายตาอ่านหนังสือ (เช่นในห้องประชุม ในห้องรับแขก ห้องเรียน) ก็ไม่เป็นไร (คงพอทราบนะครับว่าแสงจากหลอดตะเกียบจะทำลายม่านตามนุษย์) เพราะแม้เราจะจ่ายเงินแพงหน่อย แต่สะดวกแล้วชุ่มหัวใจ (บางห้อง) ว่าประหยัดพลังงานก็ โอเค. แต่ต้องไม่มาย้อมสมองกันให้เข้าใจผิดแบบนี้ ก็เท่านั้นเองแหละครับ

    แหล่งข้อมูล: Forword Mail
    ผู้สนับสนุน: เพียวคาร์เร้นท์ โรงแรมเพียวแมนชั่น เพียววิลล่า

    Leave a reply

    *